วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

โปรเจคจบ เล่มวิจัยทั้ง 5 บท เพื่อเข้าเล่มปกสีน้ำเงิน (ไชโยทำโปรเจคจบเสร็จแล้ว)

    ก่อนจะขึ้นสอบโปรเจคจบ (คือวันที่ต้องส่งงานทั้งหมดค่ะ คือส่งตัวระบบ นำเสนอผลงานให้ อาจารย์กรรมการทั้งสามท่านค่ะ วันนี้คือวันที่ต้องตอบคำถามทุกอย่างว่าเราทำอะไรบ้าง และทำได้อย่างไร ใช้วิธีไหนทำ และผลลัพธ์เป็นอย่างไร สิ่งที่ต้องเตรียมน่ะค่ะ
     1. เตรียมใจค่ะว่าสิ่งที่เราทำ เราจะรู้ว่าเกิดขึ้นได้อย่าง เพราะเราเป็นคนทำ แต่ถ้าให้เพื่อนช่วยก็แนะนำว่าให้ถามเพื่อนด้วยน่ะค่ะว่าทำได้อย่างไร พยายามทำความเข้าจากเพื่อนค่ะ เพราะเราต้องไปตอบคำถามอาจารย์ว่าเราทำมันได้อย่างไร และทำเพราะอะไรค่ะ
      2. เตรียมพรีเซนต์(power point) ที่นำเสนอในวันสอบหัวข้อแบบ สรุป หรือแบบทวนความจำค่ะ
      3. เตรียมระบบที่สมบูรณ์ค่ะ แนะนำว่าให้เตรียมกับเพื่อนที่คู่โปรเจคให้ดีค่ะว่าจะนำเสนออย่างไร มีขั้นตอนการทำงานของระบบอย่างไรให้ดีค่ะ คือง่ายๆๆให้เตรียมตัวเทสระบบให้ดีค่ะ พยายามให้ตัวเองมีไหวพริบหรือกินแบรนด์ไปด้วยน่ะค่ะ 555 เพื่อที่จะได้เข้าใจคำถามที่อาจารย์กรรมการอยากจะเทสระบบเราค่ะ
        *** ตอนนำเสนอให้จดโน้ต username +  password การเข้าใช้ระบบด้วยน่ะค่ะ  ทุกๆๆ user เลยค่ะ การลำดับการนำเสนอแต่ละ user ก็แล้วแต่ขอบเขตงานของแต่ละคนค่ะต้องประยุกต์การนำเสนอให้ดีค่ะ

เมื่อนำเสนอเสร็จก็จะมีสองกรณีค่ะ ให้ไปเพิ่ม แบบมากหรือนิดหน่อยค่ะ และอาจารย์ก็จะนัดส่งอีกทีะค่ะ ถ้ามากก็จะต้องนำเสนอใหม่อีกครั้งค่ะ แต่ถ้าไม่เยอะ อาจารย์ก็จะให้ไปหาอาจารย์นอกรอบค่ะ(ไม่ต้องขึ้นเขียงอีกนั่นเอง) แต่ถ้าอาจารย์บอกผ่านแล้ว ก็ไชโยด้วยน่ะค่ะ

  ****ด่านต่อไป ก็ต้องมาทำฟอร์แมตตามที่ทางสาขากำหนดน่ะค่ะ พี่จะแนบไว้ในลิงค์ การทำฟอร์แมตน่ะค่ะ (อันนี้ต้องแล้วแต่สาขาบังคับน่ะค่ะ แต่ละสาขา แต่ละมหาวิทยาลัย ไม่เหมือนกันค่ะ) ก็ไม่ใช่เรื่องง่ายน่ะค่ะ ต้องทำให้ครบตามรูปเล่มค่ะ ใช้เวลาเหมือนกันค่ะ ตามขั้นตอนนี้น่ะค่ะ

          **เว็บนี้จะเป็นเว็บของอ.อาจารย์วีริยา สุภาณิชย์  จะมีเนื้อหาและกำหนดต่างๆๆของอาจารย์ สามารถดูได้ตามลิงค์นี้ค่ะ

http://km.cpc.ac.th/wee2eew/pj5/

        1. ต้องปริ้นรูปเล่มทั้ง 5 บท ไปให้อาจารย์ที่ปรึกษาตรวจความถูกต้องของรูปแบบค่ะ สำหรับกลุ่มพี่ อาจารย์วีริยา สุภาณิชย์ ให้ความกรุณาตรวจรูปแบบให้ค่ะ อาจารย์ใจดีมากค่ะ^^
        2. อ.จะตรวจแล้วเขียนให้ว่าต้องปรับแก้อย่างไรบ้าง (ของพี่รอบแรกผิดตั้งแต่หน้าแรก ถึงหน้าสุดท้ายเลยค่ะ แต่รอบที่สอง อาจารย์บอกว่าให้ไปเข้าเล่มปกสีน้ำเงินได้เลยค่ะ ^^)
        3. จะมีใบอนุญาติให้เข้าเล่มปกน้ำเงินได้นั้นต้องมีลายเซนต์จากอาจารย์ตรวจเล่มด้วยนะค่ะ ถึงจะมีสิทธิ์ไปเข้าเล่มได้ค่ะ
        4. นำเนื้อหาทั้ง 5 บทไปปริ้นที่ร้านค่ะ (ปริ้นเลเซอร์ค่ะ) ข้อแนะนำน่ะค่ะ คือ ให้ระวังการตั้งค่ากระดาษเพราะพี่ก็เป็นกรณีศึกษาอีกแล้วค่ะ คือว่าตอนที่พี่ไปปริ้นค่ะ พี่ไปปริ้นที่ร้านซอยประชาสงค์ 27 แล้วเลี้ยวขวา จะอยู่ตรงป้ายรถเมย์พอดีค่ะ พี่เค้าจะให้เราปริ้นเองค่ะ ราคาถ้าเป็นปริ้นเครื่องสี จะอยู่ที่แผ่นล่ะ 8 บาท ส่วนขาวดำราคาแผ่นล่ะ 1.50 บาทค่ะ ถ้าเป็นพวก er หรือ dfd พี่เค้าจะแนะนำให้ปริ้นเครื่องสีและลดราคาให้เหลือแผ่นล่ะ 3 บาทค่ะ
              ดังนั้นเราต้องสั่งแยกปริ้นน่ะค่ะ พอสั่งแยกปริ้น บางบทจะมีหน้าที่เป็นสีกับขาวดำปนกัน ดังนั้นทางที่ดีและรวดเร็วให้จดหน้าไปว่า บทไหนหน้าไหนบ้างจะปริ้นสี หรือขาวดำเพราะมันอยู่คนละเครื่องกันค่ะ
             กรณีศึกษาของพี่ก็มีอีกแล้วค่ะ เมื่อพี่สั่งปริ้นไปแผ่นแรก มีเสียงดัง "ดิ๊ดๆๆๆ" พี่เจ้าของร้านบอกว่า งานน้องอ่ะมีปัญหาแล้วล่ะ มันจะเลื่อนกระดาษหมดน่ะค่ะ เพราะน้องไม่ได้ตั้ง size ให้เป็น A4 ให้กลับไปตั้งค่าใหม่เลยน่ะค่ะ หรือว่าจะปริ้นไป มันจะเลื่อนหมดเลยนะ 5555  สรุปคือกลับมาจัดรูปแบบใหม่หมดค่ะ ให้สังเกตตรงนี้นะค่ะ ตามรูปด้านล่างนี้ะค่ะ


       เมื่อปริ้นทั้ง 5 เล่มแล้วก็ให้นำไปเข้าเล่ม และทำแผ่นซีดีมาส่งด้วยน่ะค่ะ ส่วนเนื้อหาในแผ่นก็ตามรูปด้านล่างเลยน่ะค่ะ  หรือดูตามคู่มือการนำเนื้อใส่แผ่น ซีดีค่ะ



       **พูดถึงเรื่องการเข้าเล่ม ต้องใช้เวลาเหมือนกันค่ะ ประมาณ 1-2 วันค่ะ แล้วแต่ร้านค่ะ สำหรับน้องๆที่อยู่แถว ประชาสงค์เคราะห์ หรือ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ  หรือหอการค้าไทยน่ะค่ะ ก็มีร้านที่เคยไปค่ะ อยู่ซอย 29 ถนนประชาสงค์ค่ะ เห็นเพื่อนไปเข้าเล่มมาทำดีเหมือนกันค่ะราคาอยู่ที่เล่มล่ะ 200-250 บาทค่ะ ทางสาขาให้ทำสองเล่ม
แต่ของพี่ก็เป็น กรณีศึกษาอีกแล้วค่ะ ตอนไปถึงร้าน ยื่นเล่มให้พี่ที่้ร้านเข้าเล่มค่ะ พี่เค้าบอกว่า ชื่อโปรเจคน้องยาวไปค่ะ ทางเราไม่สามารถทำให้ได้ ถ้าจะทำน้องต้องไปหา "ลายเส้นมา เพื่อทางร้านจะได้ทำบล็อกให้ใหม่ค่ะ และต้องใช้เวลาทำบล็อก 1 อาทิตย์  " ตอนนั้นรู้แล้วว่าไม่ทันแน่นอนค่ะ เดินขาลากออกจากร้านมา โทรหาพี่สาว พี่นิ้งเลยแนะนำว่าให้หาในอินเทอร์เน็ตดูว่ามีร้านไหนรับทำด่วน

       กลับมาที่หอพร้อมเล่ม 5 บท สองเล่ม มานั่งหาในอินเทอร์เน็ต ทำการพิมพ์ลงใน google ว่า "เข้าเล่มวิทยานิพนธ์ด่วน" 555 และก็เจอ จัดการโทรหาทันทีพี่เค้าบอกวันนั้นคือวัน เสาร์ตอนเที่ยงคืนน่ะ ที่โทรคุยกับพี่เจ้าของร้าน พี่เค้าบอกว่าให้เราส่งหน้าปก ไปที่ mail พี่เค้า แล้วพี่เค้าก็ตีราคามาว่าเล่มล่ะ 800 บาทสำหรับเข้าเล่มด่วนค่ะ และนัดให้ไปรับเล่มในวันอาทิตย์ตอนเที่ยงค่ะ ^^ ตอนนั้นถึงจะแพงแต่ดีใจสุดๆๆเลย ที่ได้ร้านเข้าเล่มแล้ว เพราะต้องส่งเล่มในวันจันทร์ก่อน 4 โมงเย็น ก็ขอแนะนำร้านพี่เค้าอยู่ข้างมหาวิทยาลัยรังสิตน่ะค่ะ (สำหรับคนที่ต้องการด่วนและมีปัญหาจริงๆน่ะ เพราะมันแพงถ้าเอางานแบบด่วนค่ะ) แต่ถ้าไม่ด่วนก็ราคาตามที่พี่เค้าโพสต์ไว้ค่ะ พี่เค้ารับปริ้นงานด้วยนะค่ะ ^^


เมื่อได้เล่มมาก็ดีใจสุดๆๆ กาวยังไม่แห้งเลย 5555



            เล่มวิจัยนี้สำเร็จได้ก็เพราะความเมตตาของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ รักเกียรติวินัย อาจารย์ที่ปรึกษาโครงงานวิจัย ที่กรุณาให้โอกาสได้ทำวิจัยในหัวข้อการทาเหมืองข้อมูล และให้ความรู้ คาปรึกษา ข้อเสนอแนะทางวิชาการเพื่อเป็นแนวทางในการจัดทางานวิจัย และสนับสนุนให้ได้ไปเผยแพร่งานวิจัยในระดับชาติ พร้อมทั้งอาจารย์อร่าม ตันติโสภณวนิช และอาจารย์วีริยา สุภาณิชย์ ที่กรุณาสละเวลาเป็นอาจารย์สอบวิจัย พร้อมทั้งให้คำแนะนาที่เป็นประโยชน์ และ บิดา มารดา พี่นิ้ง พี่สาวที่คอยให้คำแนะนำการทำโปรเจคมาโดยตลอด และเพื่อนในสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ทุกคนที่คอยให้การช่วยเหลือ สนับสนุน ช่วยเป็นกาลังใจ และส่งแรงใจในการทางานวิจัยมาโดยตลอด
ท้ายที่สุดนี้ คุณความดีที่บังเกิดจากงานวิจัยเล่มนี้ เป็นผลมาจากความเมตตากรุณาของคณาจารย์ มหาวิทยาลัย บิดา มารดา และผู้คอยให้กาลังใจแก่ผู้จัดทา ผู้จัดทำจึงขอยกคุณความดีเหล่านั้น เป็นเครื่องบูชาพระคุณด้วยความเคารพและสักการะยิ่ง



มาเริ่มก้าวแรกของการทำ โปรเจคจบ ระดับปริญญาตรี กันค่ะ


            สวัสดีค่ะ ผู้อ่านทุกๆท่าน คิดว่าผู้อ่านที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้มีจุดประสงค์หลักคือกำลังหาหัวข้อหรือหาข้อมูลการทำโปรเจคจบกันน่ะค่ะ ^^!! (จะทำเรื่องอะไรง่ะ T_T")
          สำหรับทุกๆๆคนที่เรียนทางด้านสายคอมพิวเตอร์ เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องทำ "โปรเจคจบ" กัน ความยากง่ายก็ขึ้นอยู่กับสายหรือสาขาที่เรียน สำหรับน้องๆเรียน "สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์" คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เมื่อเริ่มเปิดเทอมทุกคนก็ต้องเริ่มหา หัวข้อโปรเจคกัน มาเริ่มกันเลยน่ะค่ะ

           เปิดเทอมของการขึ้นอยู่ปี 4 ประมาณวันที่ 1 มิถุนายนค่ะ จะมีเวลาในการหาหัวข้อโปรเจคประมาณ 1 เดือนค่ะ เพราะจะมีการสอบหัวข้อโปรเจคในวันที่ 13 กรกฎาคม ค่ะ หรือช้าเร็วกว่านี้ก็อาจจะไม่มากค่ะ

           1. ข้อแรกที่อยากแนะนำคือ ให้หาแนวทางไปสัมภาษณ์ระบบงานจริง ของที่ไหนก็ได้ ที่เราสามารถเข้าไปสัมภาษณ์ระบบงานว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง ก่อนไปสัมภาษณ์ก็ควรหาข้อมูลนิดหน่อย สำหรับเทคนิคการสัมภาษณ์ มีเทคนิคที่แนะนำคือ ควรทำการบ้านไปก่อนว่าจะสัมภาษณ์อะไรบ้าง และสัมภาษณ์ user คนไหนบ้าง จดเป็นลำดับไป แล้วสัมภาษณ์ทีละคำถาม (ควรอัดเสียงไว้เพราะถ้าจดตอนนั้นทุกคำพูดคงจดไม่ทันค่ะ ^^) พยายามกระชับคำถามแต่ก็ต้องพยายามถามให้ครบตามระบบงานจริง *****ขอหมายเหตุเลยว่า การที่ต้องไปสัมภาษณ์ระบบงานจริงนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากคือ แน่นอนเลยว่าจะได้สโคปหรือขอบเขตที่ชัดเจน เวลาคุณนำเสนอหัวข้อ คุณสามารถอ้างอิงได้เลยว่า คุณไปสัมภาษณ์ธุรกิจหรือหน่วยงานจริง จะทำให้งานคุณมีคุณภาพและเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง (ถ้านำเสนอดีๆๆ ก็จะสามารถผ่านหัวข้อโปรเจคในรอบแรก เพราะเป็นระบบงานจริงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง)
               ตัวอย่างของพี่ คือพี่มีแนวโน้มแล้วว่าอยากทำเกี่ยวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับคณะ พี่จึงไปขอสัมภาษณ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ไปหลายวันมาก   กว่าจะได้เข้าไปสัมภาษณ์ท่านคณบดี เพราะท่านมีงานเยอะที่ต้องทำ เมื่อได้เข้าไปสัมภาษณ์ก็เริ่มด้วยการแนะนำตัวเองก่อนว่ามาจากที่ไหน และจะขอความอนุเคราะห์ให้คณบดีให้สัมภาษณ์ได้มั้ยค่ะ ก็เริ่มคำถามเลยค่ะตามที่เราลิสต์ไว้

             2.  เมื่อได้บทความสัมภาษณ์ (ที่อัดเสียงไว้) ก็นำมาแกะ แล้วเริ่มการเขียนบทที่ 1 ได้เลยค่ะ สำหรับบทที่ 1 ของพี่ พี่ทำโปรเจค อืม... สามารถแบ่งออกเป็นสองหัวข้อคือทำ "เหมืองข้อมูล"+"พัฒนาระบบ(อันนี้เป็นวัตถุประสงค์รองค่ะ)" ลองดูเป็นตัวอย่างได้น่ะค่ะ จาก



             3.  เมื่อได้บทที่ 1 แบบคร่าวๆๆ  ก่อนหน้านี้เชื่อว่าทุกคนก็มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่คิดไว้ในใจแล้วว่าอยากจะไปขอให้อาจารย์ท่านใดเป็นที่ปรึกษา อาจารย์จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ของพี่อยู่กลุ่มที่ 1 จะมีอาจารย์สามท่าน ดังนี้
                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ รักเกียรติวินัย (อ.เป๋ง ค่ะ),
                    อาจารย์อร่าม ตันติโสภณวนิช,
                    และอาจารย์วีริยา สุภาณิชย์
        อาจารย์ที่ตรวจโปรเจคแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เวลาที่มีการสอบหัวข้อ หรือสอบความก้าวหน้าอาจารย์ในกลุ่มจะให้ความกรุณามาเป็นกรรมการตรวจด้วยค่ะ
     
         การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา (จริงๆ แล้วอาจารย์ก็เลือกเราด้วยนั่นแหละ) ก็มีหลายรูปแบบเหมือนกัน เพราะอาจารย์แต่ละท่านมีนักศึกษาที่ปรึกษาได้ 6-7 กลุ่ม (อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนนักศึกษา จะมีการแจ้งในวันที่มีการแนะนำการทำโปรเจคของสาขาค่ะ) เงื่อนไขการรับเป็นที่ปรึกษาก็แตกต่างกันแล้วแต่อาจารย์แต่ละท่านค่ะ พี่ก็มีทางเลือกให้เลือกอยู่สามทางเลือกในการตอบคำถามการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาน่ะค่ะ

              1. ในการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาคือ “ถามตัวเองก่อนว่าชอบด้านไหน” ถ้าตอบได้ว่าชอบ      Data Mining, Android, ios, Network, หรืออะไรก็ตามก็ไปหาอาจารย์ที่ท่านถนัดเรื่องนั้น (ในวันที่มีการแนะนำอาจารย์ว่าอาจารย์ท่านไหนถนัดในด้านไหนนั้นอาจจะช้าไปนิดนึงค่ะ แนะนำว่าให้ไปถามจากรุ่นพี่หรือเข้าไปคุยกับอาจารย์เลยค่ะ)

              2. ถ้ายังไม่มีคำตอบในข้อแรกว่าชอบด้านไหน อยากทำด้านไหนนั้นก็ให้ลองถามตัวเองดูต่อว่า “สนิทกับอาจารย์ท่านไหนเป็นพิเศษรึเปล่า” สนิทในที่นี้หมายถึงว่าอาจจะเคยทำงานร่วมกัน หรือว่าเคยไปปรึกษาหารือในเรื่องต่างๆ กับอาจารย์เค้า ถ้าได้คำตอบตกลงข้อนี้ก็เข้าไปหาอาจารย์ได้ทันทีเลยค่ะ

               3. อันดับสุดท้ายก็เป็นอันดับที่เป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆน่ะ พยายามตอบคำถามให้ได้ภายในสองข้อแรกจะดีกว่าน่ะจ๊ะ คือ เลือกอาจาย์ที่ปรึกษาที่ติดต่อง่าย เวลาจะปรึกษาอาจารย์แล้วอาจารย์สะดวกให้คำปรึกษาได้ จะดีเพราะถ้าเดือนนึงเจอครั้งนึงก็ลำบากเลยค่ะ อาจจะไม่จบง่ายๆๆค่ะ

****อย่าเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาเพราะ*****

   -  มีคนบอกว่าอาจารย์เค้าให้เกรดง่าย : ที่เค้ารู้สึกว่าได้มาง่ายอาจจะเป็นเพราะว่าเค้าทุ่มเทก็ได้นะ

   - อาจารย์หาตัวยากจะได้ไม่มีคนคอยตามงานเรา : ถ้าไม่ไปปรึกษาและตามงานจะมีไว้ทำไมหล่ะ


         สำหรับพี่ พี่ได้ไปขอให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ รักเกียรติวินัย (อ.เป๋ง ค่ะ) เป็นที่ปรึกษาเพราะอาจารย์ถนัดด้านการทำวิจัย ซึ่งงานของพี่ออกแนวเป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ บวกกับการบูรณาการทำเป็นระบบด้วยค่ะ (ขอเล่าย้อนหลังไปน่ะค่ะว่า วันที่เปิดเทอมของชั้นปีที่ 4 วันแรก ไปขอพบอาจารย์แล้วเล่าให้อาจารย์ฟังว่าอยากจะทำโปรเจคเกี่ยวกับเรื่อง "เหมืองข้อมูล" สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจของคณบดี แล้วบอกอาจารย์ว่าจะไปหาข้อมูลแล้วมาอีกครั้ง ในระหว่างนั้นพี่ก็ไปสัมภาษณ์คณบดี แล้วนำเสียงที่อัดตอนสัมภาษณ์มาแกะเพื่อทำเป็นบทที่ 1 แต่บังเอิญว่าเพื่อนโทรมาบอกว่า กลุ่มอาจารย์สมศักดิ์เต็มแล้ว  และไม่มีชื่อกลุ่มพี่เลย !!! ตอนนั้นก็ตกใจมาก งง แต่จริงๆๆแล้วเป็นเพราะพี่เข้าใจผิดนึกว่าอาจารย์รับแล้ว พอไปหาอาจารย์ อาจารย์เลยบอกว่าต้องมีบทที่ 1 มาให้อาจารย์ อาจารย์ถึงจะขึ้นรายชื่อว่ารับเป็นที่ปรึกษา (อันนี้ก็เล่าให้น้องๆฟังไว้เป็นกรณีศึกษาน่ะค่ะ^^) แต่ด้วยความที่อาจารย์เห็นความตั้งใจของกลุ่มพี่ อาจารย์ก็กรุณารับไว้เป็นกลุ่มสุดท้าย ^^)

       เมื่ออาจารย์โอเคแล้ว ก็ให้ไปหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานเราค่ะ ไปค้นหาใน google ดูว่ามีคนเคยทำเกี่ยวกับงานนี้หรือไม่ โดยหาได้จากฐานข้อมูลดังนี้ค่ะ TDC เพื่อนำไปอ้างอิงตอนสอบหัวข้อค่ะ ถ้ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซัก 3-4 งานวิจัยก็โอเคแล้วค่ะ แล้วบอกว่างานเราแตกต่างหรือคล้ายหรือต่อยอดจากงานวิจัยนั้นอย่างไร สามารถดูตัวอย่างได้จาก บทที่ 1 ได้น่ะค่ะ ในหัวข้อ "งานวิจัยที่เกี่ยวข้องค่ะ"

                 4.  เมื่อได้บทที่ 1 และได้อาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็ต้องมาทำพรีเซนต์ (power point) เพื่อนำเสนอหัวข้อโปรเจค แนะนำการทำพรีเซนต์น่ะค่ะ ว่าควรทำเป็นเอนิเมชั่นหรือสื่อความหมายในรูปแบบภาพให้มากๆๆ คือทำอย่างไรให้อ.เข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะทำให้มากที่สุด
                      ---ขอเกริ่นก่อนน่ะค่ะว่า การทำพรีเซนต์นี้ต้องพรีเซนต์กับอาจารย์กรรมการ ในวันที่สอบหัวข้อโปรเจค
                       ***แนะนำว่าให้รีบทำแล้วนำไปให้อาจารย์ปรึกษาดูก่อนเนิ่นๆๆน่ะค่ะ ^^
                       ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษา ให้ไปปรับ ก็ไปปรับแล้วนำมาให้อาจารย์ดูอีกครั้งก็ต้องรีบทำน่ะค่ะ เพราะถ้าทำวันใกล้สอบหัวข้ออาจจะไม่ทันน่ะค่ะ แต่ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่าโอเคแล้ว ก็สามารถขึ้นสอบหัวข้อโปรเจคได้เลยค่ะจากนั้น ก็เตรียมตัวเตรียมใจน่ะค่ะ ^^

                  **********พี่ก็มีตัวอย่างพรีเซนต์ของวันที่สอบหัวข้อโปรเจคจากลิ้งค์นี้เลยค่ะ**********

    *****เมื่อนำเสนอหัวข้อโปรเจค จะมีคอมเม้นท์ ให้เรากลับไปเพิ่มขอบเขต หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับสโคปหรือขอบเขตงานว่าได้ตามระบบงานที่ควรจะเป็นหรือความยากง่ายของสาขาที่เรียนค่ะ อาจารย์ที่เป็นกรรมการตรวจโปรเจคก็จะแนะนำให้ไปปรับแก้ค่ะ (สำหรับคนที่ไปสัมภาษณ์ระบบงานจริงส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีขอบเขตให้ไปเพิ่มค่ะ)  สำหรับโปรเจคพี่ อาจารย์กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผ่านสามารถเริ่มทำโปรเจคตามขอบเขตได้เลยค่ะ



ส่วนขั้นตอนต่อไปก็สามารถติดตามได้ในหัวข้อต่อไปน่ะค่ะ ^^ (ยังมีอีกหลายด่านค่ะ)

             สรุปขั้นตอนที่ต้องนำเสนอน่ะค่ะ
    1. พรีเซนต์หัวข้อโปรเจค : วันนี้ส่งบทที่ 1 + power point ที่นำเสนอ ทำไปให้เท่ากับอาจารย์กรรมการที่ตรวจโปรเจคน่ะค่ะ : วันที่ 13 กรกฎาคม 2556
    2. สอบก้าวหน้า : วันนี้ส่งบทที่ 1-4 และนำเสนอหัวข้อแบบสรุปพร้อมทั้งนำเสนอ ER+DFD และ GUI : วันที่ 7 กันยายน 2556 (ประมาณก่อนจะปิดเทอมแรกของปี 4 ค่ะ)
    3.  สอบโปรเจคจบ : วันนี้ส่งบทที่ 1-5 พร้อมทั้งส่งโปรแกรมหรือระบบแบบสมบูรณ์ค่ะ วันนี้จะเป็นการตัดสินว่าผ่านหรือไม่ผ่านค่ะ ถ้าไม่ผ่านก็กลับมาแก้ค่ะ แต่ถ้าผ่านก็สามารถทำรูปเล่มเพื่อเข้าปกน้ำเงินค่ะ(ต้องผ่านการตรวจรูปแบบจากอาจารย์ก่อนน่ะค่ะ)  (ส่วนนี้จะต้องทำตอนเทอมสองค่ะ เทอมสองจะเป็นการเขียนโปรแกรมทั้งหมดค่ะ และนำเสนอผลงานค่ะ) : วันที่ 8 กุมพาพันธ์ 2556
    4.  ส่งเล่มปกสีน้ำเงิน + แผ่นซีดี ค่ะ

 (จะมีการจับฉลากว่าจะได้วันพรีเซนต์วันไหนและกลุ่มที่เท่าไหร่ค่ะ เช่น พี่อยู่กลุ่ม 1 มีอาจารย์ 3 ท่าน และในอาจารย์สามท่านนี้จะแบ่งการพรีเซนต์ออกเป็น 3 รอบค่ะ ถ้าจับฉลากได้ 1.2 คือ พรีเซนต์สัปดาห์ที่ 1 กลุ่มที่ 2 ค่ะ) และถ้าเป็น 2.3 ก็คือ พรีเซนต์สัปดาห์ที่ 2 กลุ่มที่ 3 ค่ะ