วันอังคารที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2556

มาเริ่มก้าวแรกของการทำ โปรเจคจบ ระดับปริญญาตรี กันค่ะ


            สวัสดีค่ะ ผู้อ่านทุกๆท่าน คิดว่าผู้อ่านที่เข้ามาอ่านบล็อกนี้มีจุดประสงค์หลักคือกำลังหาหัวข้อหรือหาข้อมูลการทำโปรเจคจบกันน่ะค่ะ ^^!! (จะทำเรื่องอะไรง่ะ T_T")
          สำหรับทุกๆๆคนที่เรียนทางด้านสายคอมพิวเตอร์ เชื่อได้เลยว่าทุกคนต้องทำ "โปรเจคจบ" กัน ความยากง่ายก็ขึ้นอยู่กับสายหรือสาขาที่เรียน สำหรับน้องๆเรียน "สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์" คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ เมื่อเริ่มเปิดเทอมทุกคนก็ต้องเริ่มหา หัวข้อโปรเจคกัน มาเริ่มกันเลยน่ะค่ะ

           เปิดเทอมของการขึ้นอยู่ปี 4 ประมาณวันที่ 1 มิถุนายนค่ะ จะมีเวลาในการหาหัวข้อโปรเจคประมาณ 1 เดือนค่ะ เพราะจะมีการสอบหัวข้อโปรเจคในวันที่ 13 กรกฎาคม ค่ะ หรือช้าเร็วกว่านี้ก็อาจจะไม่มากค่ะ

           1. ข้อแรกที่อยากแนะนำคือ ให้หาแนวทางไปสัมภาษณ์ระบบงานจริง ของที่ไหนก็ได้ ที่เราสามารถเข้าไปสัมภาษณ์ระบบงานว่ามีใครเกี่ยวข้องบ้าง ก่อนไปสัมภาษณ์ก็ควรหาข้อมูลนิดหน่อย สำหรับเทคนิคการสัมภาษณ์ มีเทคนิคที่แนะนำคือ ควรทำการบ้านไปก่อนว่าจะสัมภาษณ์อะไรบ้าง และสัมภาษณ์ user คนไหนบ้าง จดเป็นลำดับไป แล้วสัมภาษณ์ทีละคำถาม (ควรอัดเสียงไว้เพราะถ้าจดตอนนั้นทุกคำพูดคงจดไม่ทันค่ะ ^^) พยายามกระชับคำถามแต่ก็ต้องพยายามถามให้ครบตามระบบงานจริง *****ขอหมายเหตุเลยว่า การที่ต้องไปสัมภาษณ์ระบบงานจริงนั้นมีประโยชน์เป็นอย่างมากคือ แน่นอนเลยว่าจะได้สโคปหรือขอบเขตที่ชัดเจน เวลาคุณนำเสนอหัวข้อ คุณสามารถอ้างอิงได้เลยว่า คุณไปสัมภาษณ์ธุรกิจหรือหน่วยงานจริง จะทำให้งานคุณมีคุณภาพและเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง (ถ้านำเสนอดีๆๆ ก็จะสามารถผ่านหัวข้อโปรเจคในรอบแรก เพราะเป็นระบบงานจริงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริง)
               ตัวอย่างของพี่ คือพี่มีแนวโน้มแล้วว่าอยากทำเกี่ยวกับระบบสนับสนุนการตัดสินใจสำหรับผู้บริหารระดับคณะ พี่จึงไปขอสัมภาษณ์ คณบดี คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตจักรพงษภูวนารถ ไปหลายวันมาก   กว่าจะได้เข้าไปสัมภาษณ์ท่านคณบดี เพราะท่านมีงานเยอะที่ต้องทำ เมื่อได้เข้าไปสัมภาษณ์ก็เริ่มด้วยการแนะนำตัวเองก่อนว่ามาจากที่ไหน และจะขอความอนุเคราะห์ให้คณบดีให้สัมภาษณ์ได้มั้ยค่ะ ก็เริ่มคำถามเลยค่ะตามที่เราลิสต์ไว้

             2.  เมื่อได้บทความสัมภาษณ์ (ที่อัดเสียงไว้) ก็นำมาแกะ แล้วเริ่มการเขียนบทที่ 1 ได้เลยค่ะ สำหรับบทที่ 1 ของพี่ พี่ทำโปรเจค อืม... สามารถแบ่งออกเป็นสองหัวข้อคือทำ "เหมืองข้อมูล"+"พัฒนาระบบ(อันนี้เป็นวัตถุประสงค์รองค่ะ)" ลองดูเป็นตัวอย่างได้น่ะค่ะ จาก



             3.  เมื่อได้บทที่ 1 แบบคร่าวๆๆ  ก่อนหน้านี้เชื่อว่าทุกคนก็มีอาจารย์ที่ปรึกษาที่คิดไว้ในใจแล้วว่าอยากจะไปขอให้อาจารย์ท่านใดเป็นที่ปรึกษา อาจารย์จะแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ของพี่อยู่กลุ่มที่ 1 จะมีอาจารย์สามท่าน ดังนี้
                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ รักเกียรติวินัย (อ.เป๋ง ค่ะ),
                    อาจารย์อร่าม ตันติโสภณวนิช,
                    และอาจารย์วีริยา สุภาณิชย์
        อาจารย์ที่ตรวจโปรเจคแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม เวลาที่มีการสอบหัวข้อ หรือสอบความก้าวหน้าอาจารย์ในกลุ่มจะให้ความกรุณามาเป็นกรรมการตรวจด้วยค่ะ
     
         การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา (จริงๆ แล้วอาจารย์ก็เลือกเราด้วยนั่นแหละ) ก็มีหลายรูปแบบเหมือนกัน เพราะอาจารย์แต่ละท่านมีนักศึกษาที่ปรึกษาได้ 6-7 กลุ่ม (อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงตามจำนวนนักศึกษา จะมีการแจ้งในวันที่มีการแนะนำการทำโปรเจคของสาขาค่ะ) เงื่อนไขการรับเป็นที่ปรึกษาก็แตกต่างกันแล้วแต่อาจารย์แต่ละท่านค่ะ พี่ก็มีทางเลือกให้เลือกอยู่สามทางเลือกในการตอบคำถามการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาน่ะค่ะ

              1. ในการเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาคือ “ถามตัวเองก่อนว่าชอบด้านไหน” ถ้าตอบได้ว่าชอบ      Data Mining, Android, ios, Network, หรืออะไรก็ตามก็ไปหาอาจารย์ที่ท่านถนัดเรื่องนั้น (ในวันที่มีการแนะนำอาจารย์ว่าอาจารย์ท่านไหนถนัดในด้านไหนนั้นอาจจะช้าไปนิดนึงค่ะ แนะนำว่าให้ไปถามจากรุ่นพี่หรือเข้าไปคุยกับอาจารย์เลยค่ะ)

              2. ถ้ายังไม่มีคำตอบในข้อแรกว่าชอบด้านไหน อยากทำด้านไหนนั้นก็ให้ลองถามตัวเองดูต่อว่า “สนิทกับอาจารย์ท่านไหนเป็นพิเศษรึเปล่า” สนิทในที่นี้หมายถึงว่าอาจจะเคยทำงานร่วมกัน หรือว่าเคยไปปรึกษาหารือในเรื่องต่างๆ กับอาจารย์เค้า ถ้าได้คำตอบตกลงข้อนี้ก็เข้าไปหาอาจารย์ได้ทันทีเลยค่ะ

               3. อันดับสุดท้ายก็เป็นอันดับที่เป็นทางเลือกสุดท้ายจริงๆน่ะ พยายามตอบคำถามให้ได้ภายในสองข้อแรกจะดีกว่าน่ะจ๊ะ คือ เลือกอาจาย์ที่ปรึกษาที่ติดต่อง่าย เวลาจะปรึกษาอาจารย์แล้วอาจารย์สะดวกให้คำปรึกษาได้ จะดีเพราะถ้าเดือนนึงเจอครั้งนึงก็ลำบากเลยค่ะ อาจจะไม่จบง่ายๆๆค่ะ

****อย่าเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาเพราะ*****

   -  มีคนบอกว่าอาจารย์เค้าให้เกรดง่าย : ที่เค้ารู้สึกว่าได้มาง่ายอาจจะเป็นเพราะว่าเค้าทุ่มเทก็ได้นะ

   - อาจารย์หาตัวยากจะได้ไม่มีคนคอยตามงานเรา : ถ้าไม่ไปปรึกษาและตามงานจะมีไว้ทำไมหล่ะ


         สำหรับพี่ พี่ได้ไปขอให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สมศักดิ์ รักเกียรติวินัย (อ.เป๋ง ค่ะ) เป็นที่ปรึกษาเพราะอาจารย์ถนัดด้านการทำวิจัย ซึ่งงานของพี่ออกแนวเป็นการทำวิจัยเชิงคุณภาพ บวกกับการบูรณาการทำเป็นระบบด้วยค่ะ (ขอเล่าย้อนหลังไปน่ะค่ะว่า วันที่เปิดเทอมของชั้นปีที่ 4 วันแรก ไปขอพบอาจารย์แล้วเล่าให้อาจารย์ฟังว่าอยากจะทำโปรเจคเกี่ยวกับเรื่อง "เหมืองข้อมูล" สำหรับสนับสนุนการตัดสินใจของคณบดี แล้วบอกอาจารย์ว่าจะไปหาข้อมูลแล้วมาอีกครั้ง ในระหว่างนั้นพี่ก็ไปสัมภาษณ์คณบดี แล้วนำเสียงที่อัดตอนสัมภาษณ์มาแกะเพื่อทำเป็นบทที่ 1 แต่บังเอิญว่าเพื่อนโทรมาบอกว่า กลุ่มอาจารย์สมศักดิ์เต็มแล้ว  และไม่มีชื่อกลุ่มพี่เลย !!! ตอนนั้นก็ตกใจมาก งง แต่จริงๆๆแล้วเป็นเพราะพี่เข้าใจผิดนึกว่าอาจารย์รับแล้ว พอไปหาอาจารย์ อาจารย์เลยบอกว่าต้องมีบทที่ 1 มาให้อาจารย์ อาจารย์ถึงจะขึ้นรายชื่อว่ารับเป็นที่ปรึกษา (อันนี้ก็เล่าให้น้องๆฟังไว้เป็นกรณีศึกษาน่ะค่ะ^^) แต่ด้วยความที่อาจารย์เห็นความตั้งใจของกลุ่มพี่ อาจารย์ก็กรุณารับไว้เป็นกลุ่มสุดท้าย ^^)

       เมื่ออาจารย์โอเคแล้ว ก็ให้ไปหางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับงานเราค่ะ ไปค้นหาใน google ดูว่ามีคนเคยทำเกี่ยวกับงานนี้หรือไม่ โดยหาได้จากฐานข้อมูลดังนี้ค่ะ TDC เพื่อนำไปอ้างอิงตอนสอบหัวข้อค่ะ ถ้ามีงานวิจัยที่เกี่ยวข้องซัก 3-4 งานวิจัยก็โอเคแล้วค่ะ แล้วบอกว่างานเราแตกต่างหรือคล้ายหรือต่อยอดจากงานวิจัยนั้นอย่างไร สามารถดูตัวอย่างได้จาก บทที่ 1 ได้น่ะค่ะ ในหัวข้อ "งานวิจัยที่เกี่ยวข้องค่ะ"

                 4.  เมื่อได้บทที่ 1 และได้อาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ก็ต้องมาทำพรีเซนต์ (power point) เพื่อนำเสนอหัวข้อโปรเจค แนะนำการทำพรีเซนต์น่ะค่ะ ว่าควรทำเป็นเอนิเมชั่นหรือสื่อความหมายในรูปแบบภาพให้มากๆๆ คือทำอย่างไรให้อ.เข้าใจในสิ่งที่เราอยากจะทำให้มากที่สุด
                      ---ขอเกริ่นก่อนน่ะค่ะว่า การทำพรีเซนต์นี้ต้องพรีเซนต์กับอาจารย์กรรมการ ในวันที่สอบหัวข้อโปรเจค
                       ***แนะนำว่าให้รีบทำแล้วนำไปให้อาจารย์ปรึกษาดูก่อนเนิ่นๆๆน่ะค่ะ ^^
                       ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษา ให้ไปปรับ ก็ไปปรับแล้วนำมาให้อาจารย์ดูอีกครั้งก็ต้องรีบทำน่ะค่ะ เพราะถ้าทำวันใกล้สอบหัวข้ออาจจะไม่ทันน่ะค่ะ แต่ถ้าอาจารย์ที่ปรึกษาบอกว่าโอเคแล้ว ก็สามารถขึ้นสอบหัวข้อโปรเจคได้เลยค่ะจากนั้น ก็เตรียมตัวเตรียมใจน่ะค่ะ ^^

                  **********พี่ก็มีตัวอย่างพรีเซนต์ของวันที่สอบหัวข้อโปรเจคจากลิ้งค์นี้เลยค่ะ**********

    *****เมื่อนำเสนอหัวข้อโปรเจค จะมีคอมเม้นท์ ให้เรากลับไปเพิ่มขอบเขต หรือไม่นั้นก็ขึ้นอยู่กับสโคปหรือขอบเขตงานว่าได้ตามระบบงานที่ควรจะเป็นหรือความยากง่ายของสาขาที่เรียนค่ะ อาจารย์ที่เป็นกรรมการตรวจโปรเจคก็จะแนะนำให้ไปปรับแก้ค่ะ (สำหรับคนที่ไปสัมภาษณ์ระบบงานจริงส่วนใหญ่แล้วจะไม่มีขอบเขตให้ไปเพิ่มค่ะ)  สำหรับโปรเจคพี่ อาจารย์กรรมการและอาจารย์ที่ปรึกษาให้ผ่านสามารถเริ่มทำโปรเจคตามขอบเขตได้เลยค่ะ



ส่วนขั้นตอนต่อไปก็สามารถติดตามได้ในหัวข้อต่อไปน่ะค่ะ ^^ (ยังมีอีกหลายด่านค่ะ)

             สรุปขั้นตอนที่ต้องนำเสนอน่ะค่ะ
    1. พรีเซนต์หัวข้อโปรเจค : วันนี้ส่งบทที่ 1 + power point ที่นำเสนอ ทำไปให้เท่ากับอาจารย์กรรมการที่ตรวจโปรเจคน่ะค่ะ : วันที่ 13 กรกฎาคม 2556
    2. สอบก้าวหน้า : วันนี้ส่งบทที่ 1-4 และนำเสนอหัวข้อแบบสรุปพร้อมทั้งนำเสนอ ER+DFD และ GUI : วันที่ 7 กันยายน 2556 (ประมาณก่อนจะปิดเทอมแรกของปี 4 ค่ะ)
    3.  สอบโปรเจคจบ : วันนี้ส่งบทที่ 1-5 พร้อมทั้งส่งโปรแกรมหรือระบบแบบสมบูรณ์ค่ะ วันนี้จะเป็นการตัดสินว่าผ่านหรือไม่ผ่านค่ะ ถ้าไม่ผ่านก็กลับมาแก้ค่ะ แต่ถ้าผ่านก็สามารถทำรูปเล่มเพื่อเข้าปกน้ำเงินค่ะ(ต้องผ่านการตรวจรูปแบบจากอาจารย์ก่อนน่ะค่ะ)  (ส่วนนี้จะต้องทำตอนเทอมสองค่ะ เทอมสองจะเป็นการเขียนโปรแกรมทั้งหมดค่ะ และนำเสนอผลงานค่ะ) : วันที่ 8 กุมพาพันธ์ 2556
    4.  ส่งเล่มปกสีน้ำเงิน + แผ่นซีดี ค่ะ

 (จะมีการจับฉลากว่าจะได้วันพรีเซนต์วันไหนและกลุ่มที่เท่าไหร่ค่ะ เช่น พี่อยู่กลุ่ม 1 มีอาจารย์ 3 ท่าน และในอาจารย์สามท่านนี้จะแบ่งการพรีเซนต์ออกเป็น 3 รอบค่ะ ถ้าจับฉลากได้ 1.2 คือ พรีเซนต์สัปดาห์ที่ 1 กลุ่มที่ 2 ค่ะ) และถ้าเป็น 2.3 ก็คือ พรีเซนต์สัปดาห์ที่ 2 กลุ่มที่ 3 ค่ะ








1 ความคิดเห็น: